Advertisement
Home บทความพิเศษ มูนฟิช ‘ปลาเลือดอุ่น’ ตัวแรกและอาจเป็นตัวเดียวในโลก

มูนฟิช ‘ปลาเลือดอุ่น’ ตัวแรกและอาจเป็นตัวเดียวในโลก

พอดีมีน้าแชร์หน้าตาของปลาที่เรียกว่า ปลามูนฟิช หรือ ปลาพระจันทร์ มันเป็นปลาทีหน้าตาประหลาด จริงๆ ผมคิดอยู่ว่าเจ้านี่คล้ายปลาแสงอาทิตย์ แต่ที่ประหลาดไม่ใช่หน้าตาเท่านั้น มันเป็น "ปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลก" อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษที่ปลาอื่นไม่มีอีก แต่หากเทียบกับปลาแสงอาทิตย์ ดูมันมีชะตากรรมไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะมันดันเป็นปลาเนื้อดี "เนื้ออร่อย" ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นปลาที่มักโดนจับมากิน โดยเฉพาะเมนูญีปุ่น เดี๋ยวมาดูเรื่องราวของปลาพระจันทร์กันดีกว่า ถ้าชอบยังไงก็ฝากแชร์กันหน่อยนะครับ

“ปลามูนฟิช หรือ ปลาพระจันทร์ หรือ ปลาโอปาห์ ( Moon fish, Opah) ชื่อวิทยาศาสตร์ Lampris guttatus ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลามูนฟิช (Lampridae)”

เป็นปลาที่มีรูปร่างกลมแป้น แบนข้างมาก ตามผิวหนังจะมีจุดกลมสีขาวที่เมื่อสะท้อนกับแสงเมื่ออยู่ใต้น้ำ แล้วจะมีความแวววาวดุจแสงจันทร์ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ ครีบทุกครีบเป็นสีแดงสด มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร และมีน้ำหนักกว่า 270 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักประมาณ 40–80 กิโลกรัม

ปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลก

ตามข้อมูลปลาชนิดนี้เป็น “ปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลก” มันได้รับการยืนยันจากทีมนักวิทยาศาสตร์จากสำนักงานสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ค้นพบว่าปลา Opah หรือ ปลาพระจันทร์ เป็นปลาเลือดอุ่นสายพันธุ์แรกของโลก มันเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์จำพวกนก

เลือดอุ่นแล้วดียังไง?

ในฐานะปลาแล้ว การที่เลือดอุ่นย่อมดีกว่าเลือดเย็น เพราะมันจะสามารถรักษาอุณภูมิของร่างกายได้ดีกว่า โดยปลาชนิดนี้จะรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่นกว่าสภาพแวดล้อมในน้ำลึกประมาณ 5 องศาเซลเซียส ตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำเย็น 5 องศาเซลเซียส ร่างกายของปลาจะอยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส ซึ่งช่วยทำให้สามารถว่ายลงไปได้ลึกกว่าปลาทั่วไปและอยู่ใต้ทะเลลึกได้นานกว่า

กระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อน

“ที่ความลึกในสภาพเย็น ปลาจะมีวิธีการพิเศษ “แลกเปลี่ยนความร้อน” โดยอาศัยกล้ามเนื้อพิเศษบริเวณอก ผ่านการโบกครีบอกด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ความร้อนที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ในร่างกายของมัน โดยชั้นไขมันใกล้ผิวหนังและกระบวนการจะเป็นดังต่อไปนี้”

จากผลการวิจัยที่เคยถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ ระบุว่า เนื้อเยื่อในเหงือกของปลาจะนำเลือดแดง (เลือดที่ยังไม่ใช้งาน) ที่มีอุณหภูมิต่ำ (เย็น) เข้าสู่ร่างกาย ไหลเวียนผ่านกล้ามเนื้อที่สร้างความร้อน จากนั้นเลือดที่ใช้งานแล้ว (เลือดดำ) จะนำความร้อนและคาร์บอนไดออกไซด์ จากร่างกายมาเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนที่เหงือกอีกครั้ง

ผลคือเลือดแดงชุดใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ร่างกาย จะได้รับการถ่ายเทความร้อนจากเลือดดำที่ไหลเวียนออกมา ทำให้ความร้อนในร่างกายไม่หายไปไหน นักวิจัยเรียกกระบวนการนี้ว่า Counter-current heat exchange

ความโชคไม่ดีของปลาพระจันทร์

ข้อแรกเลย ไม่ต้องไรมาก มันดันเป็นปลาที่อร่อย ข้อสองคือ เพราะมันเป็นปลาน้ำลึก พวกมันจะเคลื่อนที่ช้ามาก ด้วยความความเร็วประมาณ 25 เซนติเมตร/วินาที หรือถ้าหนีตายก็เร่งได้เป็น 4 เมตร/วินาที จึงไม่แปลกที่มันจะหนีนักล่าไม่ได้ ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็น “ปลาหายาก” และแพงมาก ตามข้อมูลเห็นเคยมีขายในไทย 2500 บาทต่อกิโล

เป็นยังไงบ้างครับกับความสามารถของปลาชนิดนี้ ถ้าเป็นคนรู้จักระบบความเย็นของตู้เย็นหรือแอร์อยู่บ้าง คงคิดคล้ายผมว่า ปลาตัวนี้มันคล้ายตู้เย็นเลยแหะ เพียงแต่ตรงข้ามกัน

“แทนที่จะดึงความร้อนออกจากตู้ เพื่อภายในตู้เย็นอยู่ตลอดเวลา มันกลับดึงความเย็นออกจากตู้แทน นั้นหมายความว่าภายในตู้จะร้อนตลอดเวลา” และด้วยกระบวนการนี้ปลาพระจันทร์จึงรักษาความร้อนให้กับร่างกายได้ตลอดเวลา จึงไม่ต้องกลัวเรื่องแข็งตายเท่าไร ..เอาล่ะขอลาไปตรงนี้ถ้าชอบอย่าลืมแชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นอ่านกัน

อ่านเรื่องอื่น

Exit mobile version