Advertisement
Home บทความพิเศษ เรื่องราวของ ‘สัตว์ประหลาดใต้น้ำ’ ที่มีอยู่จริง และเหตุที่พวกมันกำลังหายไปจากโลกตลอดกาล

เรื่องราวของ ‘สัตว์ประหลาดใต้น้ำ’ ที่มีอยู่จริง และเหตุที่พวกมันกำลังหายไปจากโลกตลอดกาล

แหล่งน้ำจืด แม้จะมีสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับทะเล แต่มันเป็นที่ๆ ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด และมันก็ถูกมนุษย์คุกคามมากที่สุดเช่นกัน มันเป็นที่ๆ สิ่งมีชีวิตมากมายอาศัยอยู่ และปลาขนาดยักษ์ก็รวมอยู่ในนั้น พวกมันมีขนาดใหญ่ แต่พวกมันก็กำลังหมดไป 

เคยฝันที่จะเห็นปลาโลมาน้ำจีนไหม ต้องการที่จะว่ายน้ำใกล้ๆ กับมันหรือถ่ายรูปมันจากบนเรือ โชคร้ายที่พวกมันสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ข่าวร้ายไม่ได้หยุดแค่นี้ ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่นกระเบนยักษ์หรือปลาดุกยักษ์ หนักกว่า 600 ปอนด์ ก็กำลังจะเจอชะตากรรมเดียวกัน จากการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคนเป็นต้นเหตุสำคัญของการลดจำนวนลงของพวกปลาเหล่านี้

ภาพบน โลมาแม่น้ำจีน หรือ Baiji มีผู้เห็นโลมาแม่น้ำจีนครั้งสุดท้าย เดือน กันยายน ปี ค.ศ. 2004 ก่อนหน้านั้นโลมาแม่น้ำจีนตัวผู้ชื่อ “ฉีฉี” (淇淇, qíqí) ที่สถาบันไฮโดรไบโอโลยีแห่งอู่ฮั่น เลี้ยงไว้ตายลงเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2002

ฉีฉีเป็นโลมาแม่น้ำจีนที่ชาวประมงจับได้โดยบังเอิญในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1980 มีความพยายามของนักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันแห่งนี้ที่จะผสมพันธุ์กับโลมาแม่น้ำจีนตัวเมียหลายต่อหลายครั้ง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งได้มีการเก็บรักษาเซลล์ของฉีฉีไว้เพื่อที่จะทำการโคลน

จนเมื่อปี ค.ศ. 2007 มีนักสำรวจกลุ่มหนึ่งได้ล่องเรือสำรวจโลมาแม่น้ำจีน ไม่ปรากฏพบเจอหรือร่องรอยเลย จึงเชื่อว่าได้สูญพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วจากโลกนี้

ในขณะที่แม่น้ำและทะเลสาบครอบครองพื้นที่แค่ 1% ของโลกนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของหนึ่งในสามของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งถือว่ามากมายมหาศาล แต่แล้วสัตว์เหล่านี้ถูกมองข้ามในวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์และการอนุรักษ์ ซึ่งทำให้พวกเขาต้องจ่ายด้วยราคาแพง

ยกตัวอย่าง สัตว์ขนาดยักษ์น้ำจืดส่วนมากใช้เวลาในแม่น้ำและทะเลสาบ ซึ่งรวมถึงโลมาและจระเข้กับซาลาเมนเดอร์ยักษ์ด้วย ในระหว่างปี 1970 – 2012 จำนวนสัตว์พวกนี้ลดลงถึง 88% ซึ่งเป็นสองเท่าของสัตว์บนบกแล้วในทะเล

ในจำนวนสัตว์ยักษ์น้ำจืดที่ลดลง พวกปลายักษ์นั้นแย่ที่สุด จำนวนลดลงถึง 94% ผู้คนมองมันเป็นแค่แหล่งอาหาร ถึงแม้สัตว์พวกนี้ใช้ชีวิตในทะเลสาบหรือแม่น้ำมานับล้านปีแล้ว

การจับปลามากเกินไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ปลาขนาดใหญ่ใกล้สูญพันธุ์และยังทำให้ราคามันสูงขึ้น

ปลายักษ์ถูกฆ่าเพื่อเนื้อ หนัง และไข่ อย่างเช่น ปลาสเตอร์เจียน มันเป็นปลาขนาดใหญ่และมีชีวิตบนโลกมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์โดยแทบไม่เปลี่ยนสภาพ แต่ปัจจุบันมันถูกล่าเพื่อเอาไข่ของมัน “คาร์เวีย”  สัญลักษณ์แห่งความหรูหราและร่ำรวย ทำให้ปลาสเตอร์เจียนถูกล่าอย่างหนักเพื่อเอาไข่

นับตั้งแต่สเตอร์เจียนถูกล่าอย่างหนักจนจำนวนลดลง ทางสหรัฐได้ระงับการนำเข้าสินค้าจากสเตอร์เจียนในปี 2005 แต่นับว่าโชคดีที่ปลาสเตอร์เจียนตอนนี้นอกจากได้รับความคุ้มครองทางกฏหมายแล้ว ยังมีการเพาะเลี้ยงได้แล้วทำให้ช่วยลดการจับในธรรมชาติได้อย่างมาก

ในบางที่บนโลก ความหายากของปลายักษ์ชนิดนี้ทำให้มันยิ่งน่ากินยิ่งขึ้น ในเวียดนามนั้นบางร้านอาหารได้ขายปลาบึกแม่น้ำโขงหรือปลาไนยักษ์ ซึ่งมันผิดกฏหมายที่จะขาย

แต่ปัญหามันอยู่ที่ผู้คนสามารถจะทำเงินจำนวนมากจากการขายปลาหายากแบบนี้ และรัฐบาลก็ไม่ได้บังคับใช้กฏหมายและไม่ใช่ปัญหาแค่ในเวียดนาม ถึงแม้ในกัมพูชาปลาชนิดนี้จะมีความสำคัญเหมือนพระเจ้าซึ่งก็ไม่สามารถช่วยมันได้เนื่องจากปากท้องสำคัญกว่า

“ปลาน้ำจืดไม่ได้มีความสำคัญในแวดวงการอนุรักษ์สัตว์ป่า” Zeb Hogan ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปลายักษ์ในแม่น้ำโขงกล่าวกับ National Geographic มันยากที่จะเรียนรู้และพวกเราไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับพวกมัน และทำให้ไม่ได้รับการเอาใจใส่และการสนับสนุนจากคนทั่วไปมากนัก

เขื่อนในแม่น้ำเป็นสิ่งที่คุกคามปลาน้ำจืดทุกชนิด

มีเขื่อนนับพันในแม่น้ำทั่วโลก มันช่วยลดการเกิดน้ำท่วม ผลิตกระแสไฟฟ้าแต่ก็ยังขัดขวางระบบนิเวศด้วย และในความจริงนั้น หนึ่งในห้าของการผลิตไฟฟ้าของโลกนั้นมาในรูปแบบของไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน

แต่อย่างไรก็ตามมันก็ได้ขัดขวางเส้นทางอพยพของปลาและยังรวมถึงทำลายแหล่งผสมพันธุ์และหาอาหาร การเปลี่ยนของกระแสน้ำและอุณหภูมิน้ำ ส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อเหล่าปลาในแหล่งน้ำ

มีเขื่อนมากกว่า 3,700 เขื่อนที่กำลังอยู่ในการก่อสร้างหรือการวางแผน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมาก เขื่อน 800 แห่งยังสร้างในเขตสำคัญเช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำ อะเมซอน และแม่น้ำคองโก จุดสำคัญพวกนี้เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์

รูปลักษณ์ที่ไม่มีเหมือนใครของปลาดุกยักษ์ไม่เพียงพอที่จะช่วยไม่ให้มันสูญพันธุ์ได้

โครงการอนุรักษ์จำนวนมากเกิดจากการสนับสนุนของสาธารณะในการช่วยชีวิตสัตว์ที่น่ารักอย่างหมีแพนด้า น่าเสียดายสำหรับพวกปลายักษ์ที่ไม่น่ารักในสายตาคนทั่วไป

พวกมันไม่สามารถร้องเพลงได้เหมือนปลาวาฬและโลมา ส่งผลให้ปลายักษ์น้ำจืดถูกลืมโดยคนทั่วไป ปลาสเตอร์เจียนที่ใกล้สูญพันธุ์แทบจะขอให้สร้าง “Finding Nemo เวอร์ชั่นน้ำจืด” (ถึงแม้เรื่องนี้จะเน้นการสร้างประเด็นการอนุรักษ์ก็ตาม)

สำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้หลายชนิดมันไม่มีบทชัดเจนในระบบนิเวศ มันไม่ได้รับการศึกษามากเท่าสัตว์บกและสัตว์ทะเล ซึ่งเป็นปัญหาอีกอย่างด้วย

คนจำนวนมากหาเลี้ยงชีพจากอาชีพผิดกฏหมายนี้ ชาวประมงกัมพูชาสามารถขายปลาบึกและหารายได้จากมันมากกว่าเงินที่เขาหาจากการประมงปกติ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งมันก็จะหมดไป

มันไม่ได้ล้มเหลวทั้งหมด มันยังมีความหวัง

โดยรวมแล้วปลายักษ์น้ำจืดที่กำลังหมดไป แต่ก็มีความสำเร็จเล็กน้อย ตัวอย่างเช่นในแม่น้ำโขงสายเดียวกับปลาบึกกำลังถูกล่านั้น โลมาอิรวดีกำลังกลับมาอีกครั้ง




โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Irrawaddy dolphin) ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันในน้ำจืด สามารถพบได้ 5 แห่ง คือ ทะเลสาบชิลิก้า ประเทศอินเดีย, แม่น้ำโขง, ทะเลสาบสงขลา, แม่น้ำมหาคาม ประเทศอินโดนีเซีย และปากแม่น้ำบางปะกง โดยสถานที่ ๆ พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด คือ ทะเลสาบสงขลา ในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย

โลมาน้ำจืดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นใกล้สูญพันธุ์จากการสูญเสียที่อยู่อาศัยหรือติดอวนชาวประมง ในกัมพูชาเคยมีพวกมันเป็น 1000 ตัวจนกระทั้งมันเหลือเพียง 100 กว่าตัวหรืออาจจะน้อยกว่า

เพื่อช่วยเหลือโลมาพวกนี้ ทางรัฐบาลจึงร่วมมือกับกองทุนสัตว์ป่าโลก ชาวประมงนั้นใช้สารพิษและระเบิดเพื่อจับปลา เหมือนในการ์ตูน Road Runner ดังนั้นรัฐบาลและ WWF จึงพยายามหยุดยั้งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ที่อยู่อาศัยของโลมาได้รับการคุ้มครอง และห้ามจับ

“การที่โลมาพวกนี้หน้าตาน่ารักกว่าปลาบึก ทำให้มันสร้างการท่องเที่ยวได้”

ในช่วงสองปีที่ผ่านมาประชากรปลาโลมาเพิ่มขึ้นถึง 20ตัว แต่ก็ยังไม่ดีนัก เพราะยังมีการสร้างเขื่อนที่อาจจะทำลายพวกมันได้ แต่มันอาจจะทำให้ส่วนนั้นได้รับการคุ้มครองสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดอื่นในบริเวณนั้น




จนถึงตอนนี้การอนุรักษ์ได้ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อปลายักษ์น้ำจืด 13 ชนิด นอกจากโลมาอิรวดีแล้วยังมีบีเวอร์อเมริกันและปลาสเตอร์เจียนก็เพิ่มมากขึ้น และยังมีโครงการจะนำบีเวอร์ยุโรปคืนถิ่นเดิมด้วย แต่แน่นอนว่าความพยายามอนุรักษ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้คนสนใจปลายักษ์เหล่านี้มากกว่าแค่เป็นอาหาร

อ่านเรื่องอื่น

Exit mobile version