Advertisement
Home ประวัติศาสตร์ สะพานอดัม ที่ถูกทำลายตามกาลเวลา

สะพานอดัม ที่ถูกทำลายตามกาลเวลา

จากการศึกษาเราจะเห็นว่าศรีลังกาที่สวยงาม ถูกแยกออกจากอินเดียด้วยช่องแคบโพลค์ (Palk Straits) ที่ค่อนข้างกว้าง แต่ช่องแคบแห่งนี้เคยมีสะพานในตำนานที่เรียกว่า สะพานอดัม หรือ สะพานพระราม ซึ่งถูกกล่าวถึงในมหากาพย์รามายณะ

สะพานอดัมคืออะไร?

สะพานอดัม (Adam’s Bridge) หรือ รามเสตุ (สะพานพระราม) เป็นสายของสันดอนหินปูน ที่เชื่อมต่อระหว่างเกาะปัมบันหรือเกาะราเมศวร ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย กับ เกาะมันนาร์ บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศศรีลังกา หลักฐานทางธรณีวิทยาเสนอว่าในอดีตเคยเป็นแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างดินแดนของอินเดียกับศรีลังกา

สันดอนแหล่งนี้ มีความยาว 48 กิโลเมตร และแยกอ่าวมันนาร์ (ตะวันตกเฉียงใต้) ออกจากช่องแคบปัล์ก (ตะวันออกเฉียงเหนือ) บางส่วนอยู่เหนือน้ำ บางส่วนอยู่ใต้น้ำ ตามตำนานของราเมศวรมนเทียรระบุว่า สะพานอาดัมอยู่เหนือน้ำมาตลอดจนกระทั่งไซโคลนเข้าถล่มในปี ค.ศ. 1480

เคยมีภาพถ่ายจากกระสวยอวกาศของ NASA บันทึกภาพสะพานเก่าแก่ที่ถูกกล่าวถึงในมหากาพย์ “รามายณะ” นิทานของอินเดียที่เล่าสืบต่อกันมายาวนาน .. โดยสะพานแห่งนี้ปัจจุบันถูกเรียกว่าสะพานอาดัม (Adam’s Bridge)

นักโบราณคดีเชื่อว่าสะพานสร้างโดยมนุษย์?

จากการวิเคราะห์ของนักโบราณคดีเชื่อว่าสะพานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 1,750,000 ปีก่อน ซึ่งอาจเป็นหลักฐานว่ามนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น และเมื่อดูจากความโค้งและลักษณะเฉพาะของสะพาน ทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่าสะพานแห่งนี้สร้างโดยฝีมือของมนุษย์ไม่ใช่จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับตำนานเรื่องรามายณะ ที่มีการสร้างถนนเพื่อให้กองทัพของพระรามข้ามไปรบในกรุงลงกาเมื่อราว 1,700,000 ปีก่อนอีกด้วย

รามายณะฉบับทมิฬได้พูดถึง “รามเสตุ” (สะพานของพระราม) เป็นสะพานที่พระรามให้พลลิงสร้างขึ้นเพื่อยกพลไปสู่ลงกาของทศกัณฐ์ ซึ่งกรุงลงกาก็อาจหมายถึงศรีลังกาในปัจจุบัน

ปัจจุบันเส้นทางประวัติศาสตร์เป็นปัญหาที่เลวร้ายสำหรับนักเดินเรือ บีบให้พวกเขาต้องเดินทางไกลขึ้นถึง 400 กิโลเมตร ทำให้ต้องเสียเวลาไปเป็นวัน พวกเขาพยายามที่จะขยายช่องแคบให้ลึกขึ้น แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากพลเมืองที่เคร่งศาสนาและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

อ่านเรื่องอื่น

Exit mobile version