Advertisement
Home พืชและสัตว์ นี่คือวิธีที่ ‘ด้วงเกราะเหล็ก’ ทนแรงกดทับ 39,000 เท่าของน้ำหนักตัว

นี่คือวิธีที่ ‘ด้วงเกราะเหล็ก’ ทนแรงกดทับ 39,000 เท่าของน้ำหนักตัว

สิ่งมีชีวิตที่แบกรับน้ำหนักได้มากที่สุดในโลก ก็คือด้วงมูลสัตว์ มันแบกน้ำหนักได้ 1141 เท่า ของน้ำหนักตัว! แต่ยังมีอีกสถิติคือความแข็งแกร่งของเกราะ หรือความทนทานต่อแรงบดขยี้กดทับ ซึ่งก็ยังตกเป็นของด้วงเช่นกัน โดยด้วงตัวที่ว่าคือ "Ironclad Beetle" หรือก็คือ "ด้วงเกราะเหล็ก" ตัวมันแข็งแกร่งสมชื่อ ขนาดที่ว่าโดนรถทับยังรอดมาได้ เดี๋ยวมาดูเรื่องราวของมันดีกว่า

ด้วงเกราะเหล็ก ทนแรงกดทับของรถได้

คงมีสิ่งมีชีวิตไม่กี่ชนิดที่โดนรถวิ่งทับแล้วยังมีชีวิตอยู่เพื่อดูวันต่อไปได้ มันเป็นด้วงที่พิเศษซะจนนักวิจัยต้องลงมือค้นหาอย่างจริงจังเพื่อดูว่าอะไรทำให้ด้วงชนิดนี้แข็งได้ขนาดนี้

ด้วงเกราะเหล็กทนต่อการจิกกัดของนักล่าและแรงบดขยี้ได้สูงถึง 39,000 เท่าของน้ำหนักตัวมันเอง หากในมุมมองคน 82 กิโลกรัม จะต้องทนต่อแรงกว่า 3.1 ล้านกิโลกรัม เพื่อแสดงความทนทานเช่นเดียวกับด้วงตัวนี้

แต่เพื่อแลกมาซึ่งความแข็งแกร่ง มันจึงเป็นด้วงที่ช้า น้ำหนักมาก และถึงมันจะมีปีกก็บินไม่ได้อยู่ดี การหากินของมันจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า และเมื่อมันถูกนักล่าโจมตี สิ่งที่มันทำคือ “อยู่เฉยๆ” แล้วปล่อยให้เกราะสุดแกร่งของมันทำงานไป รอจนกว่านักล่าจะยอมแพ้และเดินจากไปเอง

จากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์และสเปกโตรสโคปี เปิดเผยให้เห็นถึงกุญแจสู่ความสำเร็จของแมลงชนิดนี้ มันอยู่ในสถาปัตยกรรมของเอลิทรอน (elytra) ซึ่งเป็นส่วนที่ปกป้องปีกบินที่บอบบางของมัน

แต่เพราะด้วงชนิดนี้สูญเสียความสามารถในการบินไปแล้ว จึงทำให้เอลิทรอน กลายเป็นโล่มากกว่าเครื่องมือในการบิน สิ่งนี้ประกอบด้วยไคตินและเมทริกซ์โปรตีนโดยมีโปรตีนเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับด้วงชนิดอื่นที่บินได้และเบากว่า

ด้วงจะมีชิ้นส่วนคลายจิ๊กซอว์ที่ส่วนท้อง ซึ่งจะล็อคเข้าด้วยกัน แต่สิ่งนี้จะแยกออกทันที เมื่อเกิดแรงกดทับมหาศาล ซึ่งจะช่วยให้ไม่ตัวแตกตายไปซะก่อน

เปลือกของด้วงเกราะเหล็กมีความพิเศษในเรื่องของการเชื่อมต่อที่เหมือนจิ๊กซอล มันไม่ได้ต่อกันถาวร แต่แยกออกและขยับผ่านกันได้ จึงทำให้ได้ความแข็งแกร่งเพิ่มเติม ต้านทานแรงดัดงอ และดูดซับการบีบอัด จึงทำให้สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ไม่สามารถทำลายเปลือกของมันได้ง่ายๆ

อ่านเรื่องอื่น

Exit mobile version