Advertisement
Home บทความพิเศษ สัตว์ก่อนยุคไดโนเสาร์ ‘กอร์กอน’ กัดกันเองจนเป็นเรื่องปกติ

สัตว์ก่อนยุคไดโนเสาร์ ‘กอร์กอน’ กัดกันเองจนเป็นเรื่องปกติ

ก่อนที่ไดโนเสาร์จะปรากฏบนโลกนี้ โลกในช่วงเวลานั้นถูกปกครองโดยสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หนึ่งในนั้นคือสัตว์เลื้อยคลานนักล่า "กอร์กอน" (Gorgon) ที่มีฟันเหมือนดาบ คล้ายกับเสือเขี้ยวดาบ ซึ่งจากการค้นพบไม่นานนี้ ทำให้ได้ทราบถึงพฤติกรรมของพวกมันในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอาหาร เขตแดนและจับคู่

กอร์กอน ซึ่งรู้จักกันในชื่อเต็มว่า “กอร์กอนอปเซียน (gorgonopsians)” มันสัตว์กินเนื้อที่อยู่ระดับบนของห่วงโซ่อาหารในช่วงปลายยุคเพอร์เมียน (299 ล้านถึง 251 ล้านปีก่อน) พวกมันมีแนวโน้มว่าจะต่อสู้กันเองเพื่อแย่งอาหาร ถิ่นอาศัย หรือหาคู่ การศึกษาล่าสุดพบว่าพวกมันไม่น่าจะสู้กันจนเป็นอันตรายถึงชีวิต นักวิจัยวิเคราะห์รอยกัดที่หายแล้วบนกะโหลกของกอร์กอนที่ค้นพบใกล้เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้

รอยกัดบนจมูกของมันนั้นยังคงมีฟันของอีกฝ่ายฝังอยู่ ทำให้มันเป็นบาดแผลอันแรกที่พบในกอร์กอน สิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามกอร์กอนในตำนานกรีก นักวิจัยกล่าว

“ถ้าเราพูดถูกว่ารอยกัดนี้เป็นผลมาจากการกัดกันระหว่างกอร์กอนสองตัวในสายพันธุ์เดียวกัน” นี่เป็นหลักฐานแรกของพฤติกรรมการกัดทางสังคมในกลุ่มไซแนปซิดที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)” สัตว์กลุ่มนี้บางส่วนจะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอนาคต Julien Benoit หัวหน้านักวิจัยด้านการศึกษา นักวิจัยอาวุโสด้านบรรพชีวินวิทยาที่สถาบัน Evolutionary Studies Institute แห่งมหาวิทยาลัย Witwatersrand ในเมืองโจฮันเนสเบิร์ก กล่าว

นักบรรพชีวินวิทยาจากแอฟริกาใต้ Lieuwe Dirk Boonstra ได้ค้นพบกะโหลกกอร์กอนและกรามล่างใน Karoo ซึ่งเป็นทะเลทรายกึ่งแห้งแล้งของแอฟริกาใต้ในปี 1940 แต่สกุลของมัน อาจเป็นพวก Arctognathus

แม้ว่ากะโหลกศีรษะจะมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่นักวิจัยก็ไม่สังเกตเห็นรอยกัดจนกระทั่งปีนี้ พวกเขาพบว่ากระโหลกศีรษะหายเป็นปกติหลังจากการกัดรุนแรง ดังนั้น กอร์กอน ตัวนี้จึงไม่ตายจากอาการบาดเจ็บในทันที ..อันที่จริง “กอร์กอน” น่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกสองถึงเก้าสัปดาห์ ตามอัตราการฟื้นตัวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และการไม่มีช่องระบายน้ำสำหรับหนองหรือร่องรอยของการติดเชื้อบ่งชี้ว่าการกัดนั้นไม่ใช่สาเหตุหลักของการตายของกอร์กอนตัวนี้

แม้ว่ากอร์กอน จะมีตั้งแต่ตัวเท่าแมวไปจนถึงขนาดเท่าฮิปโป ในที่สุดพวกมันก็ปกครองระบบนิเวศในช่วงยุคเพอร์เมียนตอนปลาย “ตัวอย่างที่เราใช้ศึกษานี้ไม่ได้มาจากยุคเพอร์เมียนตอนปลาย แต่มาจากยุคเพอร์เมียนตอนกลาง ช่วงเวลาก่อนกอร์กอน จะกลายเป็น นักล่าที่มีอำนาจเหนือกว่า” ในช่วงเวลานั้น แอนทีโอซอร์ที่ดุร้ายได้ปกครองโลกช่วงนั้น ดังนั้น “ตัวอย่างของเราจึงเป็นสัตว์กินเนื้อที่ค่อนข้างใหญ่ในโลกของสัตว์ประหลาดขนาดมหึมาในช่วงนั้น

แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ฟันหักติดอยู่ในกะโหลกของกอร์กอนอปเซียน? หรืออย่างที่ Benoitพูดไว้ “ใครจะกล้าโจมตีพวกกอร์กอนอปเซียน นอกจากสัตว์ที่ใหญ่กว่า?”

เป็นไปได้ว่าพวกแอนทีโอซอร์ (Anteosaur) โจมตีมัน? แต่แอนทีโอซอร์มีฟันที่ใหญ่และมีแนวโน้มว่าจะสามารถ “เจาะกะโหลกของกอร์กอนและฆ่ามัน” เขากล่าว “สิ่งนี้ทำให้เรามีสมมติฐานว่าการกัดนั้นทำโดยกอร์กอนตัวอื่น ไม่ใช่เพื่อฆ่ามัน แต่จากการต่อสู้เพื่อแย่งถิ่น”

ในปัจจุบัน สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์กินเนื้อ ใช้การกัดเพื่อสิทธิ์ทางสังคม กระตุ้นการมีเพศสัมพันธ์ แข่งขันกันเพื่อคู่ครอง ดินแดน อาหารและสิทธิ์ในการผสมพันธุ์

Benoit กล่าวว่ามันไม่เหมือนกับการกัดสัตว์อื่นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อฆ่า “สำหรับเรา สิ่งนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตัวที่กัดนั้นเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งในสายพันธุ์เดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับขนาดของฟัน”

กอร์กอนเป็นสัตว์นักล่าเขี้ยวดาบตัวแรกในประวัติศาสตร์ โดยเกิดขึ้นหลายร้อยล้านปีก่อนที่เสือเขี้ยวดาบตัวแรกจะเกิดขึ้นบนโลก ฟันที่ฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะไม่ใช่เขี้ยวดาบ แต่อาจเป็นฟันหน้า ฟันเขี้ยว หรือฟันหลัง

การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่ซับซ้อนระหว่างสายพันธุ์ เช่น พฤติกรรมการกัด “ไม่ได้มีลักษณะเฉพาะสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไดโนเสาร์ แต่มีลักษณะทั่วไปมากกว่าและเก่ากว่าที่เคยคิดไว้” Benoit กล่าว ก่อนหน้านี้ การวิจัยพบว่า T. rex ที่อายุน้อยมีแนวโน้มที่จะกัดกันที่หน้าเช่นกัน

อ่านเรื่องอื่น

Exit mobile version