Advertisement
Home บทความพิเศษ ออสเตรเลีย อาจเริ่มปล่อยไวรัสลงน้ำเพื่อฆ่าปลาคาร์ฟรุกราน

ออสเตรเลีย อาจเริ่มปล่อยไวรัสลงน้ำเพื่อฆ่าปลาคาร์ฟรุกราน

ก็ไม่รู้เป็นอะไรที่ประเทศออสเตรเลียมักมีปัญหากับสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นแมว กระต่าย หนู จิงโจ้ แล้วรัฐบาลก็ชอบเลือกใช้สารเคมีในการจัดการปัญหาเหล่านี้ และกับปลาคาร์ฟก็คิดจะใช้ไวรัส แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้เคยทำคล้ายๆ กันนี้

จากข้อมูลพบว่าเคยใช้ไวรัสเพื่อจัดการปลาคาร์ฟในปี 2016 มันเป็นแผนควบคุมปลาคาร์ปแห่งชาติ ในตอนนั้นรัฐบาลกลางคาดการณ์ว่ามันจะเป็นโครงการมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์ โดยหวังจะเอาปลาคาร์ฟออกจากระบบแม่น้ำได้ถึง 95% .. จนในปี 2021 ทางรัฐบาลออสเตรเลียกำลังพิจารณาใช้ไวรัสอีกครั้งและอาจเป็นไวรัสอีกชนิด

ปลาคาร์ฟรุกรานในออสเตรเลีย ต่างจากปลาคาร์ฟรุกรานในอเมริกา?

จริงๆ แล้วปลาคาร์ฟที่รุกรานอเมริกา เป็นปลาคาร์ฟเอเซีย ซึ่งเป็นพวกปลาจีนอย่างพวกปลา เฉา ซ่ง ลิ่น ซึ่งปลาพวกนี้บ้านเราก็มี แต่ที่รุกรานออสเตรเลียคือปลาคาร์ฟยุโรป หรือ ปลาคาร์ฟธรรมดา (Cyprinus carpio) หรือบ้านเราจะเรียกว่า “ปลาไน”

ปลาคาร์ฟชนิดนี้ถูกนำเข้ามาสู่ออสเตรเลียในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จนมันกลายเป็นสายพันธุ์ที่ทำลายระบบนิเวศน์ของออสเตรเลียไป โดยผลกระทบจากปลาชนิดนี้คือการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ปลาพื้นเมืองและพืชน้ำพื้นเมืองลดลงอย่างมาก

ก่อนหน้านี้เคยมีการปล่อยไว้รัสสายพันธุ์ (cyprinid herpesvirus 3) มันเป็นโครงการที่ใช้เงินเพียงเล็กน้อยเพื่อวิจัย ที่ผ่านมามันจึงเป็นการปล่อยไวรัสโดยประมาท เพราะมันไม่เหมือนไวรัสบนบก พวกมันอยู่ในคอลัมน์ของน้ำ เราจะไม่เห็นผลกระทบจริงๆ โดยเฉพาะผลกระทบต่อพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เราจะไม่เห็นอะไรเลย จนมันสายเกินไป

ที่ผ่านมาไม่เคยมีงานวิจัยเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัส มันเป็นเรื่องที่น่ากังวลว่าไวรัสที่ใช้ฆ่าปลาพวกนี้ จะแพร่กระจายไปนอกประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่? ไวรัสอาจเริมได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ..ซึ่งมันเป็นไปได้ หวังว่าโครงการนี้จะหยุดลง

อ่านเรื่องอื่น

Exit mobile version