Advertisement
Home บทความพิเศษ เรื่องราวของ ปลากั้ง หรือปลาก้าง กินแล้วหัวจะสั่นจริงหรือ

เรื่องราวของ ปลากั้ง หรือปลาก้าง กินแล้วหัวจะสั่นจริงหรือ

เรียกว่าเป็นความเชื่อโบราณที่ว่า "ปลากั้งเป็นปลาที่ห้ามกินเด็ดขาด เพราะถ้ากินเข้าไปแล้วหัวจะสั่น" ทำให้คนไม่กล้าที่จะกินปลาชนิดนี้ แต่จริงๆ แล้วปลากั้งถือเป็นปลาที่มีเนื้อดีมาก เนื้อสีขาวสะอาด เนื้อนิ่ม รสชาติดี

แต่เอาจริงๆ มาถึงยุคนี้ ปลากั้ง ถือเป็นปลาที่หายากมากๆ เพราะมันมีขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในน้ำสะอาดเท่านั้น มันจึงยากมากที่จะพบในแหล่งน้ำทั่วไป ปกติจะเจอในป่า แอ้งน้ำ ลำธาร หรือบริเวณที่น้ำสะอาดจริงๆ จึงไม่แนะนำให้จับมากิน ถึงหัวจะไม่สั่นก็เหอ

https://youtu.be/4qG4S8-743U

สาเหตุที่คนไทยไม่กล้ากิน และเกิดความเชื่อส่วนหนึ่งเกิดจากนิยายเรื่องปลาบู่ทองเรื่องเดียวที่ทำให้ชาวบ้านตาดำๆ ไม่กล้ากิน เกรงใจเจ้าเอื้อยซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง ที่ตามท้องเรื่องมีอยู่ว่า วิญญาณแม่ของเด็กสาวผู้นี้ไปอาศัยอยู่ในร่างปลาบู่ทองนั้นเอง (แล้วมันเกี่ยวไรกะปลากั้งฟ่ะ)

ปลาก้าง หรือ ปลากั้ง

ปลาก้าง หรือ ปลากั้ง

ชื่อสามัญ : Red-tailed Snakehead
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa gachua

ลักษณะทั่วไป

ปลาน้ำจืด ชนิดหนึ่งใน วงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีส่วนหัวมนกลมและโตกว่า ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำเงินคล้ำ และมีลายประหรือจุดสีคล้ำ ท้องสีจาง โคนครีบอกมีลายเส้นสีคล้ำเป็นแถบ 4-6 แถบ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเทาหรือน้ำเงินเรือ ขอบมีสีส้มหรือสีจาง

ปลาก้าง จัดชนิดของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต นับเป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศไทย โดยอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนไปตามถิ่นว่า “ปลากั๊ง” หรือ “ปลาขี้ก้าง” หรือ “ปลาครั่ง” มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน

ปลาก้างยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อนชนิดอื่น และยังพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ถือเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และอมไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว และเลี้ยงลูกปลาในระยะวัยอ่อนพร้อมกับตัวเมีย โดยปลาที่พบในแหล่งน้ำแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันด้านสีสัน เช่น ในเทือกเขาสูงในประเทศลาว พบปลาที่มีครีบหลังสีแดงสดเหมือนสีของไฟ

นิสัย

รับสงบ อดทน สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี และยังเป็นปลาที่ชอบหากินตัวเดียว ชอบอาศัยในบริเวญไม้ปกคลุม

ถิ่นอาศัย

มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเชีย, บาหลี โดยอาจพบได้ถึงต้นน้ำหรือลำธารบนภูเขา

อาหาร

ลูกปลา ลูกกุ้ง และตัวอ่อนของแมลง

อ่านเรื่องอื่น

Exit mobile version